vip

7.03.2555

เจาะลึกวิธีรับตรง สอบตรง


UploadImage


เจาะลึกวิธีการรับตรง สอบตร
โอกาสมีไว้สำหรับคนที่พร้อมเสมอ


          ระบบ Admissions ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ ทำให้การสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องมีการวางแผนการสอบ เพราะปัจจุบันเส้นทางในการเข้าสู่มหาวิทยาลัยมีหลากหลาย ทั้งการรับตรง สอบตรง ซึ่งมีมากถึง 70% ส่วนพื้นที่ของการ Admissions เหลือเพียง 30% เท่านั้น...



          มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมี 226 แห่ง 2000 สาขาวิชา นักศึกษาปริญญาตรี 1,800,000 คนและบัณฑิตศึกษา 300,000 คน อัตราคนจบปริญญาตรีแล้วว่างงาน มีจำนวนมากถึง 300,000คน และยังมีผู้ที่ได้งาน ทำงานต่ำกว่าวุฒิอีกจำนวนมาก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ต้องมีการวางแผน เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยของเด็ก ม.6



          ดังนั้น การเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการสอบตรง รับตรงที่ปัจจุบันมีพื้นที่สูงถึง 70% นั้น น้องๆ ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจกับระบบของการรับตรง ซึ่งมี 2 แบบ คือผ่านระบบ Clearing House และ ไม่ผ่านระบบ Clearing House โดย สอท. แบ่งการการคัดเลือกการสอบเข้าของมหาวิทยาลัยออกเป็น  2 กลุ่ม คือ


1. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮ้าส์ 
ในกลุ่มนี้มหาวิทยาลัยอาจจะจัดสอบเอง ใช้ข้อสอบวิขาสามัญ 7 วิชา จาก สทศ. เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละคณะแต่ละมหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญคือ โครงการรับตรงในกลุ่มนี้ จะส่งรายชื่อนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์ประสานการรับตรง หรือ เคลียร์ริ่งเฮาส์  ซึ่งน้องๆ จะต้องยื่นยันสิทธิ์การเข้าศึกษา หรือเลือกคณะที่ตนเองต้องการในช่วงเวลาที่กำหนดพร้อมกัน หมายความว่า ผู้ที่มีรายชื่อผ่านการสอบข้อเขียน หรือการสอบสัมภาษณ์แล้ว ยังไม่ได้มีสิทธ์เป็นนักศึกษาทันที แต่ต้องยื่นยันสิทธิ์เลือกครั้งสุดท้าย ผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ก่อน หากไม่มีการยืนยันสิทธิ์ในช่วงเวลาที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์ในทุกๆ โครงการ 


2. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ไม่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ 
เป็นโครงการรับตรงที่มหาวิทยาลัยดำเนินการเปิดรับเอง โดยการสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัย เมื่อนักเรียนผ่านการคัดเลือกแล้ว ต้องดำเนินการยืนยันสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษากับทางมหาวิทยาลัยก่อน จึงจะเป็นผู้มีสิทธิ์เป็นนักศึกษาได้จริง แต่อย่างไรก็ตามระบบนี้ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ สามารถยื่นสละสิทธิ์ได้หากเปลี่ยนใจภายหลัง แต่ต้องยื่นในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เพราะ มหาวิทยาลัยจะต้องส่งรายชื่อนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์แล้ว เพื่อทำการตัดสิทธิ์ ในระบบ Admission ต่อไปนั่นเอง สิ่งที่สำคัญของการรับตรงกลุ่มนี้ หลังจากการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องยื่นยันสิทธิ์กับทางมหาวิทยาลัย ภายในกำหนด และหากเปลี่ยนใจก็ต้องยื่นสละสิทธิ์ภายในช่วงเวลาที่กำหนดเช่นกัน ทั้งนี้จะมีบางโครงการที่ตัดสิทธิ์ระบบAdmission ทันทีที่ยืนยันสิทธิ์ฉะนั้น ต้องระมัดระวังและอ่านทำความเข้าใจในระเบียบของแต่ละโครงการให้รอบคอบ



          ทั้งนี้ การรับตรงในแต่ละโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัยก็อาจใช้วิธีดังต่อไปนี้



UploadImage
 



          วิธีนี้ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดคุณสมบัติของผู้สอบ จากนั้นก็จะดำเนินการออกข้อสอบเอง ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนก็จะถูกเรียกเพื่อสัมภาษณ์รวมทั้งโชว์ผลงาน Portfolio เมื่อผ่านทุกขั้นตอนแล้วจึงจะได้เข้าเรียนในคณะและมหาวิทยาลัยนั้นๆ ต่อไป เช่น...
โครงการรับตรง (แบบพิเศษ) ของ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2556 ยกตัวอย่าง รับตรงหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ซึ่งมหาวิทยาลัยทำการจัดสอบเองโดยใช้วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา และจัดสอบโดยใช้วิชาเฉพาะ ได้แก่วิชาความถนัดทางวารสารสนเทศ เมื่อการสอบข้อเขียนเสร็จสิ้นก็จะทำการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมเข้าเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่อไป




 
UploadImage




          วิธีนี้ก็เป็นการกำหนดคุณสมบัติผู้สอบโดยมหาวิทยาลัยเอง แต่ใช้คะแนน GAT, PAT เมื่อผ่านแล้วก็จะเรียกมาสัมภาษณ์พร้อมดูผลงาน Portfolioเพื่อทำการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในโครงการนั้นๆ เช่น...
โครงการพัฒนาและส่งเสริมเยาวชนดีเด่นทางการกีฬา ม.เชียงใหม่ ซึ่งพิจารณาจาก GPAX 4 ภาคเรียนตามที่แต่ละคณะกำหนด และพิจารณาคะแนน GAT, PATเพื่อคัดเลือกผู้เหมาะสมเข้าสอบสัมภาษณ์ และคัดเลือกเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป
         




 
UploadImage
 




          อีกวิธีคือ ทางมหาวิทยาลัยกำหนดคุณสมบัติเอง จากนั้นก็ทำการสอบข้อเขียนโดยข้อสอบที่มหาวิทยาลัยออกเอง บวกกับการใช้คะแนน GAT, PAT, O-NET จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์และดูผลงาน Portfolioต่อไป เช่น...
โครงการรับตรงหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษฯ (รอบที่1) สาขาวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ซึ่งมหาวิทยาลัยจะกำหนดวิชาที่จะใช้สอบเองและนักเรียนสายวิทย์จะใช้ผลคะแนน O-NET, GAT, PAT ประกอบการพิจารณาเพื่อเข้าสัมภาษณ์ เพื่อคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าศึกษาในโครงการดังกล่าว
 


          ข้อสังเกตก็คือ ทุกๆ วิธีการสอบของมหาวิทยาลัย ต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์และการดูผลงาน Portfolioซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่น้องๆ ต้องเตรียมความพร้อมในขั้นตอนนี้ให้ดีที่สุด...



          หากน้องๆ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงแล้ว แน่นอนว่าน้องๆ ย่อมวางแผนและเตรียมความพร้อมได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ การติดตามข่าวสารในการสอบอย่างสม่ำเสมอ...เพราะโอกาสดีๆ มีไว้สำหรับคนที่มีความพร้อมอยู่เสมอค่ะ...สู้ๆ นะคะ
 

  
ภารดี วงค์เขียว
ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย
 

อ้างอิง:   www.cuas.or.th
             

กด Like แล้วติดตามการอัพเดตได้ในหน้าแรกFacebook ตลอด "รับตรง@Admissions"

ติดต่อ-สอบถาม พูดคุยกันจ้า