3.02.2557
เทคนิคจดโน้ตขั้นเทพ ให้เรียนเก่ง… จากมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น!!
โทได ย่อมาจาก Tokyo Daigaku หรือมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ขึ้นชื่อว่าเด็กโทไดแล้วละก็ คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณให้มากค่ะ แค่กว่าจะฝ่าด่านผู้เข้าแข่งขัน จนได้เข้าเรียนที่นี่ คำว่า เลือดตาแทบกระเด็น อาจจะยังดูน้อยไปด้วยซ้ำ
“เอ๊ะ เขาเรียนหรือต้มตำรากินละเนี่ย” แน่นอนว่า คำถามเหล่านี้คงเคยผุดขึ้นมาในหัวของผู้อ่านบ้างใช่ไหมคะ หากจะถามถึงวิธีการเรียนก็คงจะได้คำตอบเดิมๆ วันนี้จะพาไปล้วงเทคนิคการจดโน้ตของเด็กโทไดกันค่ะ ว่าจะเนี้ยบ โหด และเป๊ะแค่ไหน
“เอ๊ะ เขาเรียนหรือต้มตำรากินละเนี่ย” แน่นอนว่า คำถามเหล่านี้คงเคยผุดขึ้นมาในหัวของผู้อ่านบ้างใช่ไหมคะ หากจะถามถึงวิธีการเรียนก็คงจะได้คำตอบเดิมๆ วันนี้จะพาไปล้วงเทคนิคการจดโน้ตของเด็กโทไดกันค่ะ ว่าจะเนี้ยบ โหด และเป๊ะแค่ไหน
หัวใจสำคัญคือ : เป็นระเบียบ และ สะอาดค่ะ!
1. แบ่งหัวข้อ
เวลาฟังเลคเชอร์ ไม่ใช่ว่าสักแต่จะจดทุกคำ ต้องจับประเด็น และใจความสำคัญให้ได้ แล้วเรียบเรียงลงในสมุด ซึ่งการแบ่งหัวข้อเวลาจดโน้ตจะทำให้เราเรียบเรียงความสัมพันธ์ของเนื้อหาได้เป็นลำดับมากขึ้น การแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ทำให้เราใส่รายละเอียดของแต่ละอย่างได้อย่างถูกต้องและเป๊ะยิ่งขึ้น
2. เว้นที่ว่างไว้บ้าง
การจดแบบอัดแน่นไปด้วยตัวอักษรนอกจากจะอ่านยากแล้ว ทำให้หมดอารมณ์ในการอ่านอีกด้วย การเว้นบรรทัดระหว่างหัวข้อ หรือเว้นที่ไว้สำหรับประเด็นที่ยังไม่เคลียร์ ทำให้เราสามารถจดเพิ่มเติมตอนอ่านทบทวนได้ และนอกจากนี้ยังสบายตาเวลาจะหาประเด็นสำคัญๆ ในหน้านั้นๆ
3. ซีรอกซ์
เอาภาพแผนที่มาแปะในสมุด
ข้อมูลบางอย่างที่ยากต่อการเขียน อย่างเช่น ในวิชาภูมิศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์ ที่มีพวกแผนที่ หรือ บุคคลสำคัญๆ ก็ไม่ต้องพยายามจดหรอกค่ะ (ฮ่าๆ) เข้าห้องสมุดถ่ายเอกสารตรงส่วนนั้น หรือปริ้นจากเน็ต แล้วนำมาแปะลงสมุดโน้ต
4. ทำสารบัญ
ถึงจะเป็นสมุดโน้ต แต่การทำสารบัญก็มีความสำคัญไม่น้อยค่ะ โดยเว้นหน้าแรกของสมุดไว้ เขียนหัวเรื่อง และเลขหน้าไว้ (เหมือนหนังสือ) แต่จะเพิ่มรายละเอียดลงไปนิดนึงว่า หัวเรื่องนี้มีรายละเอียด หรือประเด็นย่อยๆ อะไรบ้างภายในหนึ่งบรรทัด เพื่อที่ว่าเวลาทบทวน จะได้หาง่ายขึ้น แล้วก็อย่าลืมหาโพสต์อิท มาแปะตรงมุมขวาให้โผล่ออกมานอกสมุดนิดนึงนะคะ จะได้หาง่ายๆ แถมยังมีสีสันอีกด้วย
5. การตัดจบก็สำคัญนะ
จดไม่พอ ก็เอามาแปะ
เวลาสรุปเรื่องๆ หนึ่ง พยายามให้จบภายในหนึ่งหน้า ถ้าทำไม่ได้ ก็เอาส่วนที่เกินมาแปะไว้ตรงมุมกระดาษ (เวลาปิดสมุดจะได้พับเก็บเข้าไปได้) วิธีนี้ก็เพื่อจัดระเบียบข้อมูล ไม่ให้เวลาอ่านแล้วทำให้จำสับสนค่ะ เลือกใช้คีย์เวิร์ด ตัวย่อ เพื่อที่จะไม่ทำให้หนึ่งหน้ากระดาษดูอัดแน่นจนเกินไป และยังดีเวลาอ่านแบบกวาดสายตาด้วย
6. สร้างสไตล์การจดของตัวเอง
(ตัวอย่าง)
วิชาไหนจะจดแบบไหน กำหนดเองให้ง่ายต่อการอ่าน และจดจำเนื้อหา
7. จดให้สวยงาม
ลายมือก็สำคัญนะจ้ะ ไม่ได้หมายความว่าต้องคัดลายมือค่ะ แต่แค่ทำให้ตัวอักษรเป็นระเบียบ เขียนอ่านให้ออก ชัดเจนก็พอค่ะ
แค่ 7 วิธีสำหรับการจดโน้ตเทพๆ เพื่อนๆ น้องๆ ลองเอาไปปรับใช้กับการเรียนในห้องดูนะคะ บางทีการจดแบบนี้อาจทำให้เราสนุกกับการจดโน้ต และมีสมาธิเวลาเรียนมากขึ้นด้วยนะ