3.03.2557
นิยายทำให้สมองทำงานดีขึ้น
เมื่อมีคนบอกว่า การอ่านหนังสือทำให้สมองดี เรามักนึกถึงแต่ตำราเรียน หรือ หนังสือทางวิชาการทั้งหลาย แต่งานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เผยว่า หนังสือนิยายก็ทำให้สมองเราดีขึ้นได้เช่นกัน
พ่อแม่หลายคนมองว่า หนังสือนิยายที่ลูกๆอ่าน เป็นเพียงหนังสือที่ไม่มีสาระ และไม่น่าทำให้สมองดีขึ้นได้เท่ากับตำราเรียน แต่ผลการวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยเอมมอรี ในสหรัฐฯ พบว่า การอ่านหนังสือนิยายดีๆสักเล่ม สามารถทำให้อวัยวะส่วนต่างๆในสมองทำงานเชื่อมโยงกันมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองนี้จะคงอยู่ไปอีกอย่างน้อย 5 วัน
การศึกษานี้มาจากการทดลองกับนักศึกษา 21 คน ที่อ่านนิยายเรื่อง ปอมเปอี ของ นายโรเบิร์ต แฮร์ริส ซึ่งเป็นนิยายระทึกขวัญที่มีพล็อตเรื่องตื่นเต้นน่าติดตาม เรื่องนี้เกี่ยวกับ คนๆหนึ่งที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่ปอมเปอี ในช่วง 19 วัน นักศึกษากลุ่มนี้จะต้องอ่านนิยายดังกล่าวทุกเย็น และจะมีการสแกนสมองในเช้าวันรุ่งขึ้น เมื่ออ่านจบเล่มแล้ว ก็มีการสแกนสมองต่ออีกเป็นเวลา 5 วัน
ผลการศึกษาพบว่า การอ่านหนังสือนิยายสามารถทำให้ส่วนต่างๆในสมองทำงานเชื่อมโยงกันมากขึ้น และไม่เพียงแค่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสมองในระยะสั้น แต่ยังส่งผลได้นานกว่า 5 วัน โดยการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทนี้จะคงอยู่ต่อไป คล้ายกับความทรงจำของกล้ามเนื้อ หมายความว่า การอ่านหนังสือนิยายเป็นการบริหารสมองอีกทางหนึ่ง และเมื่อมีการบริหารสมองบ่อยๆ สมองก็จะจดจำรูปแบบการทำงานดังกล่าวได้ คล้ายการที่เราบริหารร่างกาย แล้วสมองจะสามารถสั่งการโดยอัตโนมัติ ให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวด้วยทิศทาง จังหวะ และน้ำหนักที่ได้เคยฝึกฝนไว้
ศาสตราจารย์เกรกอรี เบินส์ หัวหน้าการศึกษาในครั้งนี้อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองจะเกิดขึ้นในสมองซีกซ้าย ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการรับรู้ภาษา รวมถึงส่วนที่นำสัญญาณเข้า-ออกจากประสาทส่วนกลาง ซึ่งสมองส่วนดังกล่าว จะหลอกตัวเราให้คิดว่ากำลังลงมือกระทำในสิ่งที่เราคิดอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คิดว่ากำลังวิ่ง สมองของเราจะกระตุ้นระบบประสาทที่เกี่ยวกับการวิ่งทั้งหมดให้ตื่นตัว
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เบินส์ยังกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เรามักเปรียบเปรยกันอยู่แล้วว่า หนังสือนิยายดีๆเล่มหนึ่งสามารถทำให้คนเราเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องนั้นได้คล้ายกับเป็นตัวละครนั้นๆเอง ซึ่งผลวิจัยนี้ ก็เป็นการพิสูจน์ว่า สมองตอบสนองกับเรื่องราวที่อ่าน ราวกับว่าเราเป็นตัวละครในนิยายเรื่องนั้นจริงๆ
การศึกษานี้มาจากการทดลองกับนักศึกษา 21 คน ที่อ่านนิยายเรื่อง ปอมเปอี ของ นายโรเบิร์ต แฮร์ริส ซึ่งเป็นนิยายระทึกขวัญที่มีพล็อตเรื่องตื่นเต้นน่าติดตาม เรื่องนี้เกี่ยวกับ คนๆหนึ่งที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่ปอมเปอี ในช่วง 19 วัน นักศึกษากลุ่มนี้จะต้องอ่านนิยายดังกล่าวทุกเย็น และจะมีการสแกนสมองในเช้าวันรุ่งขึ้น เมื่ออ่านจบเล่มแล้ว ก็มีการสแกนสมองต่ออีกเป็นเวลา 5 วัน
ผลการศึกษาพบว่า การอ่านหนังสือนิยายสามารถทำให้ส่วนต่างๆในสมองทำงานเชื่อมโยงกันมากขึ้น และไม่เพียงแค่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสมองในระยะสั้น แต่ยังส่งผลได้นานกว่า 5 วัน โดยการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทนี้จะคงอยู่ต่อไป คล้ายกับความทรงจำของกล้ามเนื้อ หมายความว่า การอ่านหนังสือนิยายเป็นการบริหารสมองอีกทางหนึ่ง และเมื่อมีการบริหารสมองบ่อยๆ สมองก็จะจดจำรูปแบบการทำงานดังกล่าวได้ คล้ายการที่เราบริหารร่างกาย แล้วสมองจะสามารถสั่งการโดยอัตโนมัติ ให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวด้วยทิศทาง จังหวะ และน้ำหนักที่ได้เคยฝึกฝนไว้
ศาสตราจารย์เกรกอรี เบินส์ หัวหน้าการศึกษาในครั้งนี้อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองจะเกิดขึ้นในสมองซีกซ้าย ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการรับรู้ภาษา รวมถึงส่วนที่นำสัญญาณเข้า-ออกจากประสาทส่วนกลาง ซึ่งสมองส่วนดังกล่าว จะหลอกตัวเราให้คิดว่ากำลังลงมือกระทำในสิ่งที่เราคิดอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คิดว่ากำลังวิ่ง สมองของเราจะกระตุ้นระบบประสาทที่เกี่ยวกับการวิ่งทั้งหมดให้ตื่นตัว
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เบินส์ยังกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เรามักเปรียบเปรยกันอยู่แล้วว่า หนังสือนิยายดีๆเล่มหนึ่งสามารถทำให้คนเราเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องนั้นได้คล้ายกับเป็นตัวละครนั้นๆเอง ซึ่งผลวิจัยนี้ ก็เป็นการพิสูจน์ว่า สมองตอบสนองกับเรื่องราวที่อ่าน ราวกับว่าเราเป็นตัวละครในนิยายเรื่องนั้นจริงๆ