7.01.2556
เพิ่มพลังสมองเป็น 10 เท่า เรียนรู้ได้เร็ว
จากผลการทดลองพบว่า 90% ของกำลังสมอง หมดไปกับการคิดเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ และมักจะใส่ความคิดผิด ๆ ให้สมองของตัวเอง ดั่งเช่น การทำงานของคอมพิวเตอร์ ถ้าเราใส่ software ที่ผิด ผลการคำนวณก็ออกมาผิด ถ้าจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงาน ระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ ในทางทฤษฎี พบว่า " สมองมนุษย์เก็บข้อมูลได้เยอะกว่าและสามารถประมวลข้อมูล ที่มีความสลับซับซ้อน ได้รวดเร็วดีกว่าคอมพิวเตอร์ " ถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราก็น่าจะเรียนรู้อะไรได้เร็ว มีความจำเป็นเลิศ แต่ในชีวิตจริง ทำไมกลับตรงกันข้าม หรือเป็นเพราะว่า เราไม่รู้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรา เรียนรู้ช้า และปัจจัยอะไรที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ? เมื่อคุณพบคำตอบ คุณอาจคันพบตัวเองก็ได้
ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า? เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิด ให้คิด ในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจาก คนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอก ชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีต หรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตนเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเอง เข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า, คิดไม่ชัดเจน คิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่เรายังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ
ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว?
1. เปลี่ยนความคิดจาก Negative >>> Positive
- ทำงานอย่างมีเป้าหมาย : ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่า เรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น
- ต้องรู้ระบบความคิดของเราก่อนว่า ความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ , เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น
- ตัดความคิดในทาง Negative ทิ้งแล้วใส่ความคิด Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน , ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น
2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจ จากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือ การสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิด Negative ได้ชั่วคราว
3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใด ถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้อง เหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากพูดคุยกับผู้อื่น, การอ่าน, ต้องคิดหา logic ด้วยตัวเอง, ต้องเห็นด้วยตา
ฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า
• รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว?
• ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด กระตือรือร้นสูงสุด?
ฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า
• รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว?
• ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด กระตือรือร้นสูงสุด?
4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมอง จะช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม , การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะ สูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะทำให้เรามีความสดชื่น กระตือรือร้น แล้วเมื่อเราออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมอง function ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนซ้าย ส่วนขวา และสมองส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้เราใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วนได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว
6. ควรเข้าใจการทำงานของสมอง การทำงานของสมองในส่วนความจำจะทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้
- ความจำระยะสั้น >>> ช่วงเช้า
- ความจำระยะระยะยาว >>> ช่วงบ่าย
- จำเกี่ยวกับตัวเลข >>> ก่อนนอน
ทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในแต่ละแบบได้? ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน บางคนจะเรียนรู้ได้ดีจากการพูดคุย หรือจากการอ่าน เป็นต้น ดั้งนั้น วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของสมองย่อมแตกต่างไปตามรูปแบบการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. การสร้างความจำ ทางกายภาพสมองมนุษย์เราสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ภายในเวลา 1 / 1000 วินาที และโดยรู้ตัวหรือไม่ ข้อมูลที่เราได้รับจะอยู่ภายในสมองเราครบถ้วน เพียงแต่เราไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ สาเหตุหนึ่งมาจากการ " การลืม " ทุกครั้งที่เราได้รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ่าน ฟัง หรือคิด เป็นต้น จะเกิดอัตราการลืมโดยเฉลี่ยภายใน 5 นาที จะจำข้อมูลได้ 50% และถ้าผ่านไป 1 วัน จำได้ 10 %จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังอยู่ในสมองของเรา คำถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถจำข้อมูลที่เราอยากจำได้ ?
1. จดบันทึก (take note) : เป็นการสั่งสมองให้จำข้อมูล
2. สร้างภาพ : เพื่อช่วยให้มีความจำดีขึ้น ภาพที่สร้างควร • ขนาดใหญ่กว่าความจริง • ขยับมาก มีสีสัน ความรู้สึกรุนแรง • เกินความจริง เช่น ลิงพูดได้ เป็นต้น
1. จดบันทึก (take note) : เป็นการสั่งสมองให้จำข้อมูล
2. สร้างภาพ : เพื่อช่วยให้มีความจำดีขึ้น ภาพที่สร้างควร • ขนาดใหญ่กว่าความจริง • ขยับมาก มีสีสัน ความรู้สึกรุนแรง • เกินความจริง เช่น ลิงพูดได้ เป็นต้น
2. การอ่าน Information is power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่งและอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรกคือ ถามตัวเองก่อนกว่า " เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้
" เทคนิคในการอ่านเร็ว
" เทคนิคในการอ่านเร็ว
- ควรอ่านไม่มีเสียงในใจ
- การอ่านจับใจความสำคัญ : เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย
• เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา key concept >> ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านรึเปล่า เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง >> อ่านเจาะประเด็น ก็ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านทุกหน้า - ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่านคือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถวัดได้จาก เช่นเป็นข้อมูลที่ up date หรือไม่, สำนักพิมพ์อะไร เป็นต้น
3. การฟัง ตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมองของเรา ถ้าเราได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูก Memory ในสมองของเรา ซึ่งมีกลวิธีดังนี้
1.ประเมินผู้พูด : มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่
ความน่าเชื่อถือ ---->> เทคนิค
น่าเชื่อถือ แต่ไม่ชอบพูด ---->> ตั้งคำถาม หรือพูดยั่วยุแต่สุภาพ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ความคิด เพื่อกระตุ้นให้ เขาพูด เป็นต้น
น่าเชื่อถือ แต่พูดไม่ตรงประเด็น ---->> ให้ถามอย่างสุภาพว่า ประเด็นที่กำลัง พูดคืออะไร? ช่วยสรุปให้ฟังสัก 2 ประโยคได้มั้ย?
ไม่น่าเชื่อถือ ---->> ให้เราฟังตามมารยาทสังคม
น่าเชื่อถือ แต่ไม่ชอบพูด ---->> ตั้งคำถาม หรือพูดยั่วยุแต่สุภาพ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ความคิด เพื่อกระตุ้นให้ เขาพูด เป็นต้น
น่าเชื่อถือ แต่พูดไม่ตรงประเด็น ---->> ให้ถามอย่างสุภาพว่า ประเด็นที่กำลัง พูดคืออะไร? ช่วยสรุปให้ฟังสัก 2 ประโยคได้มั้ย?
ไม่น่าเชื่อถือ ---->> ให้เราฟังตามมารยาทสังคม
2. self-talk : ถามตัวเองตลอดเวลาว่า " ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร "
3. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่ หรือไม่ใช่
4. การคิด คนที่จะประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องที่มีประโยชน์ โดยมีระบบความคิดทั้งหมด 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
ประเภท ลักษณะ
- Think objectively คิดอย่างเป็นกลาง--เห็นความจริงตรง ตามความจริง
- Think productively คิด ตัดสินใจโดยมองที่ "ผล" เมื่อเจอสถานการณ์หนึ่ง แล้วสามารถคิด พิเคราะห์ถึงผลทั้ง ด้านบวกและลบที่จะตามมา
- Think positively คิดหาทางแก้ปัญหา เมื่อพบอุปสรรคก็ยังสามารถคิดหาทางพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
- Think creatively ความคิดที่สร้างเหตุและปัจจัยอันใหม่ เพื่อ สร้างอนาคตของตัวเอง
ความสามารถในการเชื่อมโยง สิ่งต่าง ๆ ที่ เคยชินกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อาจสร้าง ได้โดยการถามตัวเองว่า "ทำอย่างไรจึงจะ
ทำงานของเราได้ดีกว่าเดิม?" - Think intuitively เป็นความคิดที่ได้มาจากการถาม ความรู้สึกภายใน
- Think about the mode คิดเกี่ยวกับความคิดตัวเอง วิพากษ์วิจารณ์ความคิดตัวเองว่า คิดเป็นระบบหรือไม่, บิดเบือนความจริงหรือไม่, คิด ด้วยอารมณ์รึเปล่า : นักคิดระดับโลกต้องคิดอยู่เหนืออารมณ์
โดยสรุป ทุกคนสามารถเพิ่มความฉลาดให้ตัวเองได้ด้วย การระมัดระวังความคิด ถ้าจะคิดให้ใช้สมองคิดแต่เรื่องที่มีประโยชน์อยู่ตลอดเวลา
Credit http://www.drboonchai.com/