vip

2.27.2558

มติ ทปอ.แอดมิชชัน 58 ใช้ O-Net 8 กลุ่มฯ ตามเดิม อนาคตรอดูผลวิจัยก่อน

 ทปอ.ยันแอดมิชชัน 58 ใช้ O-Net 8 กลุ่มสาระเป็นองค์ประกอบตามเดิม ยังไม่ลดเหลือ 5 กลุ่มตามข้อเสนอ ห่วงกระทบเด็กและเตรียมทำหนังสือแจง “ณรงค์” ต่อไป ขณะเดียวกัน ให้ มศว วิจัยใช้ O-Net จำเป็นต่อการจบมหา'ลัยหรือไม่ พร้อมทำหนังสือถึง กยศ.ขอให้เริ่มใช้เกณฑ์ใหม่กับเด็กปี 1 ปี 58
       
       วันนี้ (22 ก.พ.) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้มีการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) โดย นายกฤษณพงศ์ กีรติกร  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มอบนโยบายตอนหนึ่งว่า สิ่งที่ทำให้อุดมศึกษาไทยติดหล่มไม่สามารถพัฒนาได้ คือ ปัญหาธรรมาภิบาล ซึ่งส่งผลให้ศรัทธาที่สังคมมีต่ออุดมศึกษาลดลง เพราะฉะนั้น อุดมศึกษาจึงต้องปรับตัว โดยต้องปฏิรูปจากภายใน มีระบบบริหารจัดการที่ดีเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีซึ่งหมายถึงต้องมีคุณธรรม ธรรมาภิบาล และมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน

       
       ด้าน ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดี มทส.ในฐานะประธานทปอ.กล่าวว่า ที่ประชุมหารือกรณีที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เสนอลดสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เหลือ 5 กลุ่มสาระฯ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ส่วนที่เหลืออีก 3 กลุ่มสาระฯ ให้โรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเอง ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเหตุผลที่ สทศ.เสนอว่าอาจเพราะการวัดในบางกลุ่มสาระฯ ไม่ตรงตามการเรียนการสอน ที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่น
       
       อย่างไรก็ตาม ทปอ.เห็นว่าเนื้อหาการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ ครอบคลุมทั้งระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับสากลแล้ว ดังนั้น หากลดจำนวนการสอบลงเหลือ 5 กลุ่มสาระฯ ก็จะมีผลกระทบกับการประเมินในภาพรวม รวมทั้งปัจจุบัน ทปอ.ใช้คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตร หรือ GPAX ซึ่งเป็นผลประเมินของทางโรงเรียนมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชันอยู่แล้ว
       
       “ที่ประชุมจึงมีมติว่า ในการแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2558 จะยังใช้คะแนน O-Net  8 กลุ่มสาระฯ เป็นองค์ประกอบในการเข้าเรียนต่อ 30% เช่นเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับเด็กที่จะสอบแอดมิชชันในปีนี้ถึงกว่า 3 แสนคน ขณะเดียวกัน ทปอ.จะทำหนังสือถึง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เพื่อชี้แจงเหตุผลดังกล่าว ส่วนปีต่อไป จะมีการปรับองค์ประกอบการเข้าเรียนต่อหรือไม่ ก็ต้องรอดูผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ที่อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัยว่าคะแนน O-Net นั้นมีผลต่อการจบการเรียนจบในสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลาในการวิจัย 9 เดือน จากนั้นต้องมาพิจารณาเพื่อเตรียมการอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในอนาคตหากมีข้อสอบที่สามารถนำมาใช้วัดเชาว์ปัญญาของเด็กได้ และ O-Net ไม่มีผลต่อการจบการศึกษาในมหาวิทยาลัย ก็อาจจะไม่ต้องใช้ O-Net ในการคัดเลือกอีกต่อไป แต่หากจะปรับเปลี่ยนอะไรก็ตามก็จะต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี”ศ.ดร.ประสาทกล่าว
       
       ประธาน ทปอ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ทปอ.ยังได้หารือกันถึงกรณีที่ทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปรับหลักเกณฑ์ผู้กู้ยืม โดยกำหนดว่าผู้ที่จะยื่นกู้ในระดับปริญญาตรีทั้งผู้กู้รายเก่าและรายใหม่ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00  และเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2558  ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าเกณฑ์ดังกล่าวจะไม่ยุติธรรมและตัดอนาคตของนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษาชั้นปีที่ 2-3 ที่อาจจะถูกรีไทร์ หรือให้อออกลางคัน ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียเงินของผู้ปกครอง 30% และรัฐบาล 70%  ดังนั้น ทปอ.จึงมีมติที่จะทำหนังสือถึง กยศ. ขอให้ทบทวนหลักเกณฑ์ดังกล่าวและเสนอว่าหากจะเริ่มใช้กับนิสิตนักศึกษา ที่เพิ่งเข้าเรียนใหม่ปีการศึกษา 2558

กด Like แล้วติดตามการอัพเดตได้ในหน้าแรกFacebook ตลอด "รับตรง@Admissions"

ติดต่อ-สอบถาม พูดคุยกันจ้า