vip

9.04.2554

ระวัง !! 6 คำ งงๆ ที่พบบ่อยในใบสมัคร “รับตรง/โควตา”


สวัสดีครับ โอ๊ยๆๆๆๆ หลายวันมานี้ นั่งไล่อ่านระเบียบการรับตรง และโควตาปี 55 ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็แอบจิตตกอยู่นิดๆ เพราะแต่ละที่ต่างทุ่มที่นั่งรอบรับตรงกันเยอะมากๆ บางมหาลัยเหลือที่นั่งรอบแอดฯ กลาง แค่ 30% เห็นแบบนี้แล้ว บอกได้คำเดียว น่ารักอะ หึหึ

           เมื่อได้ยินแบบนี้แล้ว หากเราจะชิวๆ ยืนผิวปากไปรอยื่นคะแนนตอนแอดฯ กลาง คงจะไม่สมหวังกันง่ายๆ ซะแล้ว เพราะไหนจะที่นั่งน้อย ไหนจะคู่แข่งเยอะ เอาเป็นว่าวินาที ณ จุดจุดนี้ เรามามุ่งสอบตรงให้ติดกันดีกว่า หรือหากไม่ติดก็ค่อยว่ากันอีกที จริงไหมๆๆ

เด็กดีดอทคอม :: ระวัง !! 6 คำ งงๆ ที่พบบ่อยในใบสมัคร “รับตรง/โควตา”

           วันนี้  เลยขอเสนอ คำที่พบบ่อยในระเบียบการรับตรงโควตา และเป็น 6คำที่หลายคนยัง งงสงสัย และไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรอีกด้วย วันนี้ พี่ลาเต้ มาไขข้อข้องใจให้กระจ่างแล้วคร้าบบ ไปเริ่มที่คำแรกกันเลย

  วิชาสามัญ
            คำนี้ถามรุ่นพี่ปีก่อนๆ จะไม่มีใครตอบได้แน่นอน เพราะเพิ่งถูกนำมาเปิดซิงใช้ปีนี้เป็นปีแรก โดย 7 วิชาสามัญนั้นเป็นหนึ่งในขั้นตอนของระบบ เคลียริ่งเฮ้าส์ เป็นข้อสอบ 7 วิชาใหม่ที่ สทศ. เป็นคนออก ซึ่งบางมหาวิทยาลัยจะใช้คะแนนจาก 7 วิชานี้มาเป็นสัดส่วนในการรับเข้าศึกษา โดย วิชาจะประกอบไปด้วย ภาษาไทย สังคม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา

            ดังนั้น น้องๆ ต้องตรวจสอบให้ดีว่ารับตรงโควตามหาวิทยาลัยที่เราอยากสอบเข้ากำหนดให้ใช้คะแนนจาก วิชานี้ไหม หากมหาวิทยาลัยไหนกำหนดก็เตรียมสมัครสอบได้เลยในเดือนตุลาคม 54 และจะไปสอบในเดือนมกราคม 55 โน่นเลย โดย 7 วิชาสามัญนี้ไม่จำเป็นต้องสอบทั้ง วิชานะครับ สอบเฉพาะตามที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนด

เด็กดีดอทคอม :: ระวัง !! 6 คำ งงๆ ที่พบบ่อยในใบสมัคร “รับตรง/โควตา”
ตัวอย่างโควตา ม.ศิลปากร คณะ ICT มีกำหนดให้ใช้คะแนนจาก 7 วิชาสามัญ

 เคลียริ่งเฮ้าส์
             เป็นชื่อของระบบรับตรงรูปแบบใหม่ ที่ทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เด็กกักที่เรียน โดยเฉพาะ 555 ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ เขาจะเริ่มทำงานช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี หลังจากที่ทุกมหาวิทยาลัยประกาศผลรับตรงโควตาออกมาแล้ว ตอนนั้นเด็ก ม.6 ทุกคนก็จะรู้แล้วว่า เรา หรือเพื่อนคนไหนติดสอบตรงที่ไหนกันบ้าง จะติด 1 มหาลัย หรือ 5 มหาลัยก็ตามแต่ความเทพ

              หลังจากนั้นประมาณวันที่ 11-17 มีนาคม ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ก็จะเรียกให้เด็ก ม.6 ทุกคนที่ติดสอบตรงโควตามหาลัยต่างๆ ไปยืนยันสิทธิ์ โดยกำหนดว่าให้ยืนยันได้แค่ 1คณะ/มหาลัยเท่านั้น หากใครไม่มายืนยันสิทธิ์ก็จะถือว่าสละสิทธิ์ทันที ดังนั้น คนไหนที่เก่งมาก สอบตรงติดมา 5 ที่ก็จะต้องถูกบังคับให้ยืนยันสิทธิ์แค่ 1 เท่านั้น ส่วนอีก 4 ที่ก็จะเป็นที่นั่งว่าง เพื่อไปรับต่อในรอบแอดมิชชั่นกลางนั้นเอง ดีไหมๆ

              ตอนนี้มี 23 มหาวิทยาลัยที่เข้าระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ ไปเช็ครายชื่อ คลิกที่นี่ เลย

 เกณฑ์ขั้นต่ำ
              คนที่มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาคณะนี้ ต้องทำคะแนน PAT 2 มากกว่า 200 คะแนนขึ้นไป นี่แหละคือเกณฑ์ขั้นต่ำ ที่แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยได้กำหนดออกมาว่า เท่าที่ไปดูระเบียบการของปีนี้ พี่ลาเต้ แอบเห็นหลายวิทยาลัยที่กำหนด เช่น โควตา ม.แม่ฟ้าหลวง(โหดมากกกก) รับตรง ม.ธรรมศาสตร์ หรือ รับตรง จุฬาฯ (แบบปกติ) และที่อื่นๆ ด้วยคร้าบบ

เด็กดีดอทคอม :: ระวัง !! 6 คำ งงๆ ที่พบบ่อยในใบสมัคร “รับตรง/โควตา”
ตัวอย่างรับตรงจุฬาฯ (แบบปกติ) คณะรัฐศาสตร์ มีกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ
โดยผู้มีสิทธิ์สมัครต้องมีคะแนน GAT และ PAT 7 ต้องมากกว่า 25% ขึ้นไป

วิชาเฉพาะ
               จำไว้ให้แม่นเลยว่าวิชาเฉพาะจะเป็นวิชาที่ทางคณะ ทางมหาวิทยาลัย หรือโครงการต่างๆ จัดสอบเอง ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่าข้อสอบอื่นๆ ไม่เข้าท่า ขอจัดสอบเองซะงั้น ในปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยที่จัดสอบวิชาเฉพาะ เช่น รับตรงจุฬาฯ (รูปแบบพิเศษ), รับตรง ม.ขอนแก่น หรือกสพท. ที่จัดสอบวิชาเฉพาะแพทย์ในเดือนตุลาคม

ตัดสิทธิ์แอดมิชชั่น
               ระเบียบการรับตรงโควตาบางมหาวิทยาลัย ตอนท้ายๆ จะมีเขียนว่า ผู้ที่ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา จะถูกส่งชื่อไปตัดสิทธิ์แอดมิชชั่นกลาง นั้นก็หมายถึงหากน้องๆ สอบติดคณะนั้น และไปยืนยัยเข้าศึกษา ไม่ว่าจะเซ็นต์เอกสาร หรือจ่ายตังค์ก็ตาม รายชื่อน้องๆ ก็จะถูกส่งไปตัดสิทธิ์แอดมิชชั่นกลางทันที แต่ในปีนี้ บางมหาวิทยาลัยเริ่มไม่มีระเบียบการในข้อนี้แล้ว เพราะส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ ก็จะตัดสิทธิ์โดยอัตโนมัติทันที ต้องดูให้ดีๆ นะ

เทียบเท่า
               คำนี้น้องๆ ที่เรียนสายอาชีพ หรือการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ต้องรู้จักให้ดี เพราะคำนี้ไปโผล่ในระเบียบการมหาวิทยาลัยไหน แสดงว่าเรามีสิทธิ์ที่จะสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยนั้น เทียบเท่าในที่นี้คือ เทียบเท่าวุฒิ ม.6” หากเป็นสายอาชีพก็จะเป็นปวช.3” โดย เทียบเท่า กับ เด็กซิ่ว คือคนละกลุ่มกันนะคร้าบ เด็กซิ่วในระเบียบการจะเขียนว่า ผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6” นั้นเอง

ที่มา  :  dek-D

กด Like แล้วติดตามการอัพเดตได้ในหน้าแรกFacebook ตลอด "รับตรง@Admissions"

ติดต่อ-สอบถาม พูดคุยกันจ้า