vip

9.08.2554

ปฏิทิน รับตรง โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ 2555





โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ

  หลักเกณฑ์การขอเทียบโอนหน่วยกิตของนักศึกษา 
  แบบฟอร์มการขอเทียบโอนหน่วยกิต 

โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ


ระดับปริญญาตรี


ลักษณะเด่นของหลักสูตร


           โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจเป็นการบูรณาการและเชื่อม
ต่อองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และพาณิชย์ศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยการที่ยังคงองค์
ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมไว้ในขณะเดียวกันหลัก
สูตรได้จัดให้มีวิชาทางพาณิชยศาสตร์ที่เป็นความรู้ที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพและ
เป็นรากฐานที่จำเป็นให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีมีความพร้อมในการรับการถ่ายทอด
องค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปทางด้านพาณิชยศาสตร์ในระดับปริญญาโทด้วย


ชื่อปริญญา



(ชื่อเต็มภาษาไทย)
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต


(วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ)

(ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ)
Bachelor of Engineering


(Engineering and Business Management)

(ชื่อย่อภาษาไทย)
วศ.บ. (วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ)

(ชื่อย่อภาษาอังกฤษ)
B.Eng. (Engineering and Business Management)


กำหนดการการรับสมัครปีการศึกษา 2555


กิจกรรม 
วัน/เดือน/ปี
รับสมัคร
(ส.) 1 ตุลาคม 2554 - (ศ.) 20 มกราคม 2555
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
และสถานที่สอบ (ทางเว็ปไซต์
http://www.ebm.engr.tu.ac.th)
(พ.) 25 มกราคม 2555
สอบ Aptitude test
Abtitude test (13.00 - 15.00น.)
(จ.) 30 มกราคม 2555
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
สัมภาษณ์และสถานที่สอบ
(ทางเว็ปไซต์ http://www.ebm.engr.tu.ac.th)
(พฤ.) 2 กุมภาพันธ์ 2555
สอบสัมภาษณ์ (09.00-12.00 น.)
(จ.) 6 กุมภาพันธ์ 2555
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกทางเว็ปไซต์
www.ebm.engr.tu.ac.th
(พฤ.) 9 กุมภาพันธ์ 2555
กำหนดชำระเงินค่ารักษาสิทธิ์ในการเข้าศึกษา*
(จ.) 13 - (ศ.) 17 กุมภาพันธ์ 2555


หมายเหตุ:  * ค่ารักษาสิทธิ์ในการเข้าศึกษา ไม่ได้รับคืนหากสละสิทธิ์


จำนวนที่เปิดรับสมัคร


           ปีการศึกษาละ 150 คน


โครงสร้างหลักสูตร


     
1) วิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ
126
หน่วยกิต

2.1) วิชาแกน
26
หน่วยกิต

2.1.1) วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
17
หน่วยกิต

2.1.2) วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม
หน่วยกิต 

2.2)
 วิชาเฉพาะสาขา

100
หน่วยกิต

 2.2.1)
 วิชาบังคับทางวิศวกรรม

76
หน่วยกิต

 2.2.2)
 วิชาเลือก

24
หน่วยกิต
3) วิชาเลือกเสรี
             6
หน่วยกิต
     รวมทั้งหลักสูตร
         162
หน่วยกิต


ค่าใช้จ่าย



- ค่าหน่วยกิต  หน่วยกิตละ
1,500
 บาท

- รวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณตลอดหลักสูตร (4 ปี)
400,000
 บาท


ใบสมัคร
     สามารถเลือกซื้อได้จาก
  • โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ (EBM) ชั้น 2  อาคารอำนวยการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หรือ
  • ดาวน์โหลด จากเว็บไซด์ http://www.ebm.engr.tu.ac.th


การสมัคร
    สามารถสมัครได้จาก
  1. สมัคร Oline ทางเว็บไซต์ Http://www.ebm.engr.tu.ac.th
  2. สมัครด้วยตนเองที่ โครงการ EBM  ชั้น 2  อาคารอำนวยการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ. ปทุมธานี 12120  ค่าธรรมเนียมการสมัคร 500 บาท   หรือ
  3. สมัครทางไปรษณีย์ โดยโอนเงินเข้าบัญชี  500 บาท (กรณีดาวน์โหลดจากเว็บไซต์) แล้วแนบ หลักฐานการโอนเงินมากับใบสมัครส่งมาที่
    โครงการ EBM  คณะวิศวกรรมศาสตร์
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    อ.คลองหลวง  จ.ปทุมธานี 12120

    โดยชำระเงินได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา
    โดยมีรายละเอียด  ดังนี้
         Company code: 8708

         Reference No.: โปรดระบุหมายเลข 301
         Customer ID: โปรดระบุเลขประจำตัวประชาชนผู้สมัคร
หลักฐานการสมัคร
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ใบแสดงผลการเรียน/ปพ.1 ที่โรงเรียนออกให้
4. สำเนาใบแสดงผลคะแนนทดสอบมาตรฐาน
5. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกฉบับ
หมายเหต
ผู้ที่ได้รับบัตรประจำตัวสอบจากโครงการฯคือผู้ที่มีสิทธิ์สอบ ซึ่งบัตรประจำตัวผู้สมัครสอบจะได้รับในวันสมัครสอบกรณีที่สมัครที่โครงการฯ ส่วนกรณีที่สมัครทางไปรษณีย์  โครงการฯ จะติดต่อกลับไปทางโทรศัพท์ เพื่อยืนยันการส่งบัตรประจำตัวผู้สมัครสอบไปยังท่านทางไปรษณีย์ หรือแจ้งหมายเลขประจำตัวผู้สมัครสอบทางโทรศัพท์ แล้วติดต่อรับบัตรประจำตัวผู้สมัครสอบในวันสอบ
อนึ่งการส่งใบสมัครทางไปรษณีย์โปรดส่งมาให้ถึงโครงการฯ ก่อนวันปิดรับสมัครอย่างน้อย 2 วันทำการ


คุณสมบัติทั่วไป
  • เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่สำคัญที่จะเป็น
    อุปสรรคต่อการศึกษา
  • เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย และรับรองต่อมหาวิทยาลัยว่าจะตั้งใจศึกษา
    เล่าเรียนเต็มความสามารถ และจะประพฤติตามระเบียบข้อปฏิบัติของ
    มหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
  • เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • จะต้องเป็นผู้ไม่ถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำผิดหรือร่วมกระทำทุจริตในการสอบ
    คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา


คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร
  1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ เน้นวิทย์-คณิตฯ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ม.4 - ม.6 รวม 5 ภาค ไม่ต่ำกว่า 2.50  หรือ
  2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ เน้นวิทย์ – คณิตฯ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50


เงื่อนไขการสมัคร
ผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานการศึกษาของโรงเรียนต้นสังกัด พร้อมทั้งสำเนาเอกสารแสดงผลการสอบมาตรฐานอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.  
คะแนน SMART-I ประกอบด้วย


        - ความสามารถด้านคณิตศาสตร์                                               
        - ความสามารถด้านการอ่าน                             
        - ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ                
        - ความสามารถด้านความรู้รอบตัว
หรือ
2.  
คะแนนทดสอบมาตรฐานที่จัดสอบโดคสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกอบด้วย
  • สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ต้องยื่นคะแนน O-NET และ/หรือ GAT + PAT 1 + PAT 3
  • สำหรับผู้ที่กำลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ ม. 6 ต้องยื่นคะแนน               GAT + PAT 1 + PAT 3
หรือ
3.  
คะแนนทดสอบมาตรฐาน SAT (Scholastic Aptitude Test) 


       -  (SAT I) Scholastic Assessment Test
       -  (SAT II) SAT Subject Tests


วิธีการคัดเลือก
  1. การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 90%)
    โดยพิจารณาจาก 3 ส่วน ดังนี้
    1.1   เกรดเฉลี่ย   20 %  (คิดเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักเท่ากับ 20
           โดยค่าสูงสุดคือ 4.00 ให้คิดเป็นคะแนนเต็ม)
    1.2   คะแนนผลการสอบมาตรฐานอื่นๆ ที่ระบุตามเงื่อนไขการสมัครข้างต้น 30 %
            (คิดเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักเท่ากับ 30       ของคะแนนเต็ม)
    1.3   คะแนนสอบ Aptitude Test  40 % ของคะแนนเต็ม
  2. การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา (คะแนนเต็ม 100 %) โดยพิจารณาจาก
    2.1   คะแนนสอบตามวิธีการคัดเลือก ข้อ 1. (90%)
    2.2   คะแนนสอบสัมภาษณ์ (10%) คะแนนสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน
    ให้ถือว่าไม่ผ่านการคัดเลือก
คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ถือผลการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
          
โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ (EBM)
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์รังสิต
99  ม. 18   ต. คลองหนึ่ง  อ. คลองหลวง  จ. ปทุมธานี  12120
โทรศัพท์ 0-2564-3001-9  ต่อ  3234, 3235, 3250
โทรสาร  0-2986-9547
http://www.ebm.engr.tu.ac.th
E-mail: ebm-info@engr.tu.ac.th




การจัดการเรียนการสอน


          หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตร
4 ปี ภาคภาษาไทยศึกษาแบบเต็มเวลา (ภาคกลางวัน) ในระบบทวิภาค (ปีละ 2 ภาคการ
ศึกษาปกติโดยอาจมีภาคฤดูร้อนด้วย)จัดการเรียนการสอนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นหลักและที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตและท่าพระจันทร์
โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ หลักสูตรปริญญาตรี-โท
โดยความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                    ในปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมและองค์กรต่าง ๆ มีความต้องการวิศวกรที่นอกจากจะมีความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ ตามพื้นฐานที่จำเป็นของวิชาชีพแล้วยังต้องการวิศวกรที่มีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ การวางแผนงาน และการบริการธุรกิจ รวมถึงความรู้ด้านอื่นๆ อาทิเช่น กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน การบัญชีและการตลาดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการในงานวิศวกรรมอีกด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักถึงความต้องการของสังคมในส่วนนี้ จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของชาติให้ทันต่อการปรับเปลี่ยนไปของโลกในปัจจุบัน
                    โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่บูรณาการองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และพาณิชยศาสตร์เข้าด้วยกันโดยเชื่อมต่อองค์ความรู้นั้นจากระดับปริญญาตรีถึงปริญญาโท
                    ระดับปริญญาตรี มุ่งเน้นทางด้านวิศวกรรมโยธาและการจัดการ เป็นหลักสูตรภาคปกติ (เรียนในวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลากลางวัน) มีระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี หลักสูตร ในระดับปริญญาตรีได้ออกแบบไว้ให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสามารถยื่นขอทดสอบความรู้ทางวิศวกรรมเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (สาขาวิศวกรรมโยธา) ได้เช่นเดียวกับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรอื่น ทางด้านวิศวกรรมโยธาตามปกติ (หมายเหตุ: อยู่ระหว่างการดำเนินการขอรับรองหลักสูตรจากสภาวิศวกร)
                    ระดับปริญญาโทประกอบด้วย สาขาวิชาการจัดการการก่อสร้างและธุรกิจ และสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและธุรกิจ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งได้ตามต้องการ โดยมีทั้งแผนการศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก2) และแผนการศึกษาที่ไม่ทำวิทยานิพนธ์ (แผน ข) สำรับทั้ง 2 สาขาวิชา จัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ในเวลากลางวัน วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นบางรายวิชาที่มีความจำเป็น อาจมีการจัดการเรียนการสอนในตอนเย็นและในวันเสาร์-อาทิตย์) มีระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร 1.5 ปี

กด Like แล้วติดตามการอัพเดตได้ในหน้าแรกFacebook ตลอด "รับตรง@Admissions"

ติดต่อ-สอบถาม พูดคุยกันจ้า