vip

10.03.2554

สัตวศาสตร์..จ้า

สาขาวิชาสัตวศาสตร์

 มุ่งเน้นความสำคัญการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ เช่น โคเนื้อ โคนม สุกร และสัตว์ปีก การขยายและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การรักษาโรคสัตว์ การจัดการผลผลิตจากสัตว์ อาหารสัตว์และโภชนศาสตร์สัตว์ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์ม และจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านการปศุสัตว์และการประมง การจัดการฟาร์มที่มุ่งเน้นสัตว์เศรษฐกิจ และเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของประชากรในภูมิภาค

รายวิชาที่เปิดสอน
การผลิตสัตว์เศรษฐกิจ เช่น โคเนื้อ โคนม สุกร และสัตว์ปีก
การขยายและปรับปรุงพันธุ์สัตว์
โภชนศาสตร์สัตว์ประยุกต์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
หลักสูตร 4 ปี
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
Bachelor of Science Program in Animal Production Technology

ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) Bachelor of Science (Animal Science)
วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) B.S. ( Animal Production Technology )
หลักสูตร 4 ปี = 129 หน่วยกิต


คุณสมบัติผู้สมัครโควตา

* กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระวิทย์ - คณิต (เท่านั้น)
* มีเกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.25
เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ
การผลิตและการจัดการฟาร์มสัตว์ปีก สุกร โคนมและโคเนื้อ นักศึกษาจะต้องเรียนวิชาด้านสถิติและการวางแผน การทดลอง และนำมาปฏิบัติในการศึกษา
วิชาปัญหาพิเศษ มีการค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการมาเรียบเรียง และนำเสนอในรูปแบบสัมมนาในกลุ่ม นักศึกษาจะต้องผ่านการฝึกงานในฟาร์มเอกชน
หรือหน่วยงานราชการด้านสัตว์ปีก สุกร โคนมและโคเนื้อ อีกไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง และยังต้องศึกษากลุ่มวิชาที่เจาะลึกลงไปทางด้านสัตวศาสตร์ ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ
ซึ่งได้แก่รายวิชาดังต่อไปนี้ พันธุศาสตร์ประยุกต์ ยาและการใช้ยาในสัตว์เลี้ยง การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ กายวิภาค และสรีรวิทยาของสัตว์เลี้ยง การผลิตอาหารสัตว์
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์โภชนศาสตร์เบื้องต้น การผลิตสัตว์ปีก / สุกร / โคนม และโคเนื้อ

ค่าใช้จ่าย ( เฉพาะภาคเรียนที่ 1 )


* ค่าธรรมเนียมการศึกษาล่วงหน้า 8,000 บาท
* ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ประมาณ 12,000 บาท (ชำระในวันรายงานตัวนักศึกษาใหม่)
หมายเหตุ ส่วนภาคเรียนอื่นๆ ค่าใช้จ่ายต่างๆ จะขึ้นอยู่กับการลงทะเบียนของนักศึกษาเองไม่เกินภาคเรียนละ 7,000 บาท


แนวทางการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ
สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพส่วนตัวและในด้านต่าง ๆ ได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น รับราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เช่นกรมปศุสัตว์ ในหน้าที่นักวิชาการสัตวบาล นักวิจัย นักส่งเสริม หน่วยงานทหาร หรือเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี  สถาบันอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และสถานศึกษาในส่วนของเอกชน นอกจากนี้สามารถเข้าทำงานกับบริษัทเอกชนต่าง ๆ ได้ เช่น บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เอกชน บริษัทอาหารสัตว์ และการส่งเสริมการขายของบริษัทต่าง ๆ   ที่เกี่ยวของกับการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ธนาคารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสินเชื่อเพื่อการเกษตร ตลอดจนองค์การพัฒนาเอกชนต่าง ๆ เป็นต้น   นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในขั้นสูงถึงระดับปริญญาโท ปริญญาเอกในสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ในสาขาดังกล่าวและสาขาที่เกี่ยวข้อง


การจัดการผลิตจากสัตว์
การป้องกันและรักษาโรคสัตว์
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มสัตว์

กด Like แล้วติดตามการอัพเดตได้ในหน้าแรกFacebook ตลอด "รับตรง@Admissions"

ติดต่อ-สอบถาม พูดคุยกันจ้า