โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ.เปิดรับสมัครธ.ค.55นี้
โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ.เปิดรับสมัครในหลักสูตร “เตรียมวิศวกรรมศาสตร์” เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้การจัดเรียนการสอนในระดับ ปวช. ปัจจุบันมี 3 สาขาวิชา คือ เครื่องกล (โปรแกรมภาษาไทย) ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (โปรแกรมภาษาไทย) โยธา (โปรแกรมภาษาไทย) และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ [โปรแกรมภาษาไทย ,(หลักสูตร English Program)] โดยจะเปิดรับสมัคร นักเรียนสายสามัญ จะต้องเรียนเหมือนกัน คือ วิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ.เป็นการเรียนการสอนในหลักสูตร “เตรียมวิศวกรรมศาสตร์” ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้พัฒนาหลักสูตร ป.วช. เป็น“เตรียมวิศวกรรมศาสตร์”เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย และความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การจัดเรียนการสอนในระดับ ปวช. ในช่วงที่ก่อตั้งสถาบันใหม่ๆ ภายใต้วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งการเรียนในสมัยนั้นเรียนฝึกปฏิบัติมากกว่าเรียนทฤษฎี ภายหลังได้มีการปรับหลักสูตรให้มีศักยภาพสูงขึ้นโดยการทดลองใช้ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ เรียนทฤษฎีน้อยกว่าปฏิบัติแต่เน้นการฝึกปฏิบัติมาก เรียนปฏิบัติ สัปดาห์ละ 3 วัน ทฤษฎี 2 วัน คือ ปฏิบัติ 60% เรียนทฤษฎี 40% จากนั้นปรับทฤษฎีมากขึ้น ปฏิบัติน้อยลงโดยเน้นทฤษฎี 50 ปฏิบัติ 50 เพื่อเน้นวิชาการในการ เรียนต่อระดับวิศวะ ที่มีสายปฏิบัติมีความชำนาญงาน ควบคู่ไปกลับการ “สร้างคนสู่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง”
การเรียนการสอนทั้ง 3 สาขาวิชา จะเป็นนักเรียนสายสามัญจะต้องเรียนเหมือนกันคือ วิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นเป็นวิชาเฉพาะทาง เช่น นักศึกษา สาขาเครื่องกล เรียนพื้นฐานด้านเครื่องยนต์ ช่างกลโรง ช่างยนต์ เขียนแบบ งานเชื่อม สาขาไฟฟ้า เรียนวิชาเฉพาะไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่ สาขาโยธาเรียนด้านโยธา และงานไม้ ควบคู่กันคือหลักสูตรหลัก ใน 3 ปี ซึ่งเป็นจุดเด่นของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ รับสมัครนักเรียน ม. 3 เข้าศึกษาต่อในระดับ ปวช. เป็นการเรียนรู้พื้นฐาน ทางช่าง จัดบริการฝึกพื้นฐาน เนื่องจากนักศึกษามีพื้นฐานและทักษะที่แน่น นักเรียนที่จบหลักสูตรเตรียมวิศวะมีความเข้มข้น เป็นที่ต้องการของตลาดสูง ตลอดจนสามารถเรียนต่อยอดไปจนถึงระดับปริญญาตรี และมีความสามารถเชี่ยวเฉพาะทาง สามารถนำความรู้ตั้งแต่ต้นไปพัฒนาในการเรียนการสอนต่อไปให้มากขึ้นและผลเป็นที่น่าพอใจ
เมื่อปี 2546 ได้ทำโครงการจัดตั้ง โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน โดยเสนอเรื่องขออนุมัติคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมฐานเทคโนโลยี ทางมหาวิทยาลัยเห็นว่าควรคงชื่อเดิมไว้ คือ ไทย-เยอรมัน จึงเป็นที่มาของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546 ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน จนกระทั่งวันที่ 30 ตุลาคม 2550 ได้เสนอเข้าวาระพิจารณาในคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดสร้างโรงเรียนเตรียมวิศวะ และได้รับการอนุมัติเงินงบประมาณ 160 กว่าล้านบาท
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ. สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการจัดการ เรียนการสอนระดับ ปวช. ตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมัน และนักศึกษาของเราก็มีศักยภาพ นักศึกษาที่รับเข้ามาเรียน ปวช. ก็มีศักยภาพในการเรียนต่อวิศวค่อนข้างสูง และเล็งเห็นว่าเมื่อจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเพื่อฝึกนักศึกษา ให้มีความชำนาญ และมีโอกาสในการศึกษาต่อระดับในระดับปริญญาตรี อีกทั้งหลักสูตรของการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวะ มีวิชาพื้นฐานทางวิศวะที่มีความสำคัญแก่นักเรียนที่จบ ม. 6 สายสามัญไม่ได้เรียนบางวิชามา เช่น วิชาเขียนแบบ วิชาพื้นฐานทางช่าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการเรียนต่อในระดับปริญญาตรี นักเรียนที่จบ ม. 6 บางคนไม่ได้เรียนมา บางคนไม่มีความถนัด มาสายทางปฏิบัติ หรือที่เราเรียกว่าวิศวะสายปฏิบัติหรือ Partical Engineer ยังดำเนินการอยู่ แต่หลักสูตร ปวช. อาจจะไม่ตรงสายเท่าไหร่ เช่น วิศวฯ สาขาออกแบบเครื่องกล ออกแบบเครื่องพิมพ์ ซึ่งนักเรียนควรมีพื้นฐานทักษะการใช้ เครื่องมือ เครื่องจักร เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญการทำแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การจัดหลักสูตรนี้จึงเป็นการตอบสนอง ความต้องการเพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมเพื่อศึกษาต่อยังคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้
มจพ. ใช้รูปแบบที่เน้นนักศึกษาที่จะเรียนต่อระดับสูงทาง Partical Engineer ให้มีพื้นฐานปฏิบัติมากขึ้นเน้นการใช้เครื่องจักร โดยที่นักเรียน ระดับ ปวส. เรียนทุกสาขา ทั้ง ช่างยนต์ ช่างเชื่อม เรียนเหมือนกันหมด อีกสาขาหนึ่งที่เน้นเฉพาะทางและจะเปิดสอน คือ สาขายานยนต์ ที่มุ่งเน้นให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งละสถาบันการศึกษาจะแข่งขันกันค่อนข้างสูง
เมื่อย้อนไปปี 2551 นักศึกษาได้ความสนใจมากและในปีนี้มีโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน ได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ สำหรับ ปวช. ให้ทันสมัยโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น การเขียนแบบเมื่อก่อนใช้มือวาดบนกระดาษ ต่อมาใช้คอมพิวเตอร์ สาขางานเชื่อมเมื่อก่อนเชื่อมแก๊ส ไฟฟ้า ปัจจุบันมีการใช้ระบบเครื่องเชื่อมอัตโนมัติ
สำหรับการ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดสอบตรงในช่วงเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ ทุกๆ ปี เป็นการรับนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยดำเนินการรับสมัครเอง โดยสมัครผ่านระบบการรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ มีรายละเอียดดังนี้
1. การรับตรงสอบข้อเขียน เปิดรับสมัครทั้งโครงการปกติ และโครงการสมทบพิเศษ รับผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับ ม.3
2. ซื้อระเบียบการรับสมัครประมาณ เดือน ธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
3. มหาวิทยาลัยได้จัดส่งโปสเตอร์การประชาสัมพันธ์ไปยัง งานแนะแนวให้แก่โรงเรียนสายสามัญตั้งแต่ ม. 1- ม. 6 เพื่อประชาสัมพันธ์ไปล่วงหน้า
สอบถามข้อมูลได้ที่ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทรศัพท์ ต่อ 6111, 6236,6245 หรือ งานประชาสัมพันธ์ หรือ หน่วยรับสมัครนักศึกษาใหม่ โทรศัพท์ ต่อ 1626,1627 และ www.kmutnb.ac.th